วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การแพ่รเชื้อและระยะฟักตัวของโรคหวัดหน้าบวมในไก่

การแพร่เชื้อ : โรคนี้ติดต่อได้หลายทางเช่น การสัมผัสกับไก่ป่วย และการปนเปื้อนของเชื้อ ที่ขับออกมากพร้อมกับเสมหะในน้ำและอาหารซึ่งเป็นช่องทางสำคัญที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้รวดเร็วแพร่ไปทั่วทั้งฝูง และแพร่ไปยังโรงเรือนใกล้เคียง นอกจากนี้เชื้ออาจแพร่มากับวัสดุอุปกรณ์ภายในฟาร์ม แกลบ และยานพาหนะ แต่การติดเชื้อที่สำคัญที่สุด คือ ไก่ติดเชื้อที่มีสุขภาพดีหรือไก่ติดเชื้อเรื้อรัง เป็นแหล่งโรคที่สำคัญ

โรคหวัดหน้าบวมมักเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเปลี่ยนอากาศโดยเฉพาะจากอากาศร้อนเป็นอากาศชื้นมีฝนตก และมักเกิดร่วมกับการเปลี่ยนแปลง ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการฟาร์ม เช่น การนำไก่สาวเข้ามาในฟาร์มที่มีโรคหวัดหน้าบวมอยู่ โดยเฉพาะฟาร์มที่มีการเลี้ยงไก่หลายอายุ โดยมักเกิดขึ้นภายใน 1-6 สัปดาห์ หลังจากเคลื่อนย้ายลูกไก่จากเล้ากกไปยังเล้าไก่รุ่นที่อยู่ใกล้กับไก่ไข่ที่ติดเชื้อ และพบว่าการปนเปื้อนเชื้อมากับอากาศ สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้นภายในฟาร์มได้ (Yamamoto and Clark, 1966) ทั้งนี้โรคหวัดหน้าบวมไม่ใช่โรคที่ติดเชื้อผ่านไข่

ระยะฟักตัวของโรค : โรคหวัดหน้าบวมในไก่มีระยะฟักตัวสั้น การพัฒนาการเกิดอาการของโรคภายใน 24-48 ชั่วโมง หลังจากไก่ได้รับเชื้อจากการเพาะเลี้ยงหรือจากสารคัดหลั่ง ถ้าไก่ที่ไวต่อการติดเชื้อสัมผัสกับไก่ป่วย มักแสดงอาการของโรคภายใน 24-72 ชั่วโมง กรณีที่ไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน ระยะเวลาในการเกิดโรค ประมาณ 2-3 สัปดาห์

Posts : Admin // 00:42
Category:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.