วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

โรคหวัดหน้าบวมในไก่ ( Infectious Coryza )

โรคหวัดหน้าบวม (Infectious Coryza) เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างเฉียบพลันในไก่ มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ  สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมักมีอาการหน้า หงอน และเหนียงบวม

โรคนี้ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลจากอาการของระบบทางเดินหายใจ ไก่ไข่ที่ป่วยพบว่าให้ผลผลิตไข่ลดลงร้อยละ 10-40 และอัตราการเพิ่มขึ้นของไข่ค่อยๆ เป็นไปอย่างช้าๆ หลังฟื้นจากการป่วย ปกติจะอยู่ระหว่าง 4-6 สัปดาห์ภายหลังโรคสงบ ความเสียหายที่สำคัญอีกประการคือ ไก่ที่ฟื้นตัวจากการเป็นโรคจะยังคงสภาพของการเป็นตัวนำโรค เป็นระยะเวลานาน (มากกว่า 4  เดือน) แต่ในบางฝูง ระยะเป็นตัวนำโรคนี้อาจยาวนานถึง 2 ปี

ปกติโรคนี้มีมักพบในไก่ไข่และไก่พันธุ์ แต่มีรายงานการระบาดในไก่เนื้อ ร่วมกับเชื้อ Mycoplasma synoviae ซึ่งทำให้เกิดการคัดซากทิ้ง ร้อยละ 8-15 เนื่องจากถุงลมขุ่น (Droual et al., 1990) และรายงานโรคหวัดหน้าบวมในไก่เนื้อที่ไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน ซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุของการคัดซากทิ้งถึงร้อยละ 69.8 เนื่องจากถุงลมอักเสบ (Hoerr et al., 1994)

เมื่อเกิดโรคมักพบการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย และพบร่วมกับปัจจัยอื่นที่ก่อให้เกิดความเครียด ในประเทศจีนพบการระบาดของโรคหวัดหน้าบวม รายงานว่าป่วยร้อยละ 20-50 และการตายร้อยละ 5-20 (Chen et al., 1993) ในประเทศโมร็อกโกพบการระบาดในฟาร์มไก่ไข่ 10 ฟาร์ม ทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 17-41 และมีการตายร้อยละ 0.7-1.0 (Mouahid et al., 1992) สำหรับประเทศไทย พบการระบาดของโรคได้เสมอในไก่ไข่ และไ่ก่พันธุ์ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนฤดู

Posts : Admin // 00:42
Category:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.