วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว

แมวสามารถติดพยาธิหัวใจผ่านทางยุงและพบพยาธิตัวเต็มวัยได้ แต่การพัฒนาเป็นพยาธิตัวเต็มวัยจะใช้เวลานานกว่าและโอกาสพบพยาธิตัวเต็มวัยมีน้อยกว่าในสุนัขมาก แมวที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ อาการที่พบเกิดจากความเสียหายของพยาธิตัวอ่อนที่ตายเรียกว่า HEARTWORM ASSOCIATED RESPIRATORY DISEASE (HEAD) เช่น ไอ อาเจียน ผอมแห้ง หายใจลำบาก นอกจากนี้ การตายของพยาธิตัวเต็มวัยอย่างรวดเร็วทำให้เกิดภาวะ COLLAPSE หายใจลำบาก ชัก อาเจียน ท้องเสีย ตาบอด และตาย


ในกรณีที่อาการเรื้อรังพบไอ อาเจียน หายใจลำบาก และผอมแห้ง ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาพยาธิหนอนหัวใจที่ได้รับการรับรองในแมว การรักษาควรรักษาตามอาการ เคยมีรายงานผ่าตัดเพื่อเอาพยาธิตัวเต็มวัยออกในกรณีที่พยาธิไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปกระทบหัวใจและตับ (VENACAVAL SYNDROME)

เปรียบเทียบการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจในสุนัขและแมว

สุนัข
  • สุนัขจัดเป็นโฮสต์จำเพาะ สุนัขที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะพบพยาธิตัวเต็มวัย
  • พยาธิตัวอ่่อนส่วนใหญ่ในปอดจะพัฒนาไปเป็นพยาธิตัวเต็มวัย
  • สุนัขที่ติดเชื้อพบพยาธิตัวเต็มวัยมากกว่า 30 ตัว
  • สุนัขที่ไม่ได้รับยาฆ่าพยาธิตัวเต็มวัยหรือการป้องกัน จะพบ MICROFILARIAE ในเลือดและ MICROFILARIA สามารถอยู่ในเลือดได้นานหลายเดือน
  • ในกรณีโรคที่อาการรุนแรงจะพบความผิดปกติทั้งที่หัวใจและปอด
  • มียาสำหรับฆ่าพยาธิตัวเต็มวัยในสุนัข
แมว
  • แมวเป็น ATYPICAL HOST การพบพยาธิตัวเต็มวัยมีโอกาสน้อย
  • พยาธิตัวอ่อนในปอดส่วนใหญ่ไม่พัฒนาไปเป็นพยาธิตัวเต็มวัย
  • แมวที่พบพยาธิตัวเต็มวัย มีพยาธิน้อยกว่า 6 ตัว (เฉลี่ย 1-3 ตัว)
  • 50% ของแมวที่มีพยาธิตัวเต็มวัยมีการสร้าง MICROFILARIAE โดยพบ MICROFILARIA ในเลือดเป็นระยะเวลาสั้น 1-2 เดือน
  • ส่วนใหญ่พยาธิจะสร้างความเสียหายที่ปอดมากกว่าหัวใจ
  • การรักษาในแมวจะเป็นการรักษาตามอาการ ไม่มียาฆ่าพยาธิตัวเต็มวัยที่ได้รับการรับรอง ไม่แนะนำให้นำยาฆ่าพยาธิตัวเต็มวัยในสุนัขมาใช้ในแมว
ที่มา : นิตยสาร zoetis

Posts : Admin // 01:11
Category:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
ขับเคลื่อนโดย Blogger.